ประวัติสถานพยาบาล โรงพยาบาลขุนหาญ |
ประวัติโรงพยาบาลขุนหาญ
ความเป็นมา โรงพยาบาลขุนหาญ เดิมเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ 38 ไร่ 1 งาน การบริหารงานขึ้นตรงต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2517 - ได้ยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย ชั้น1 ปี พ.ศ. 2525 - ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ได้รับเงินบริจาคจาก พ่อค้า ประชาชนและส่วนราชการต่างๆ เพื่อก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน จำนวน 1 หลัง เป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท โดยตั้งชื่อ ว่า “ ตึกประชาสามัคคี ” ปี พ.ศ. 2526 - เกิดเหตุการณ์สู้รบตามแนวชายแดนด้านทิศใต้ของอำเภอขุนหาญ นายแพทย์ ประวิ อ่ำพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ ได้นำคณะ3เจ้าหน้าที่ออกให้บริการช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนหนึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขุนหาญ ปี. พ.ศ. 2527 - เกิดเหตุการณ์สู้รบบริเวณช่องเขาพระพะลัย ทหารเวียดนามบุกยึดพื้นที่ของ ไทยในเขตอำเภอขุนหาญ เหตุการณ์สู้รบรุนแรงขึ้น จำนวนผู้บาดเจ็บเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลขุนหาญ - โรงพยาบาลขุนหาญ ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลแนวหน้า - โรงพยาบาลขุนหาญได้รับงบประมาณสนับสนุนก่อสร้างเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ปี พ.ศ. 2528 - ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง ปี พ.ศ. 2529 - พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้วยการจัดส่งแพทย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง และ สนับสนุนให้พยาบาลฝึกอบรมด้านวิสัญญี รวมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทาง การแพทย์ - ร่วมกับสถาบัน ANTWERP ประเทศเบลเยี่ยม กองสาธารณสุขมูลฐาน และ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิจัยรูปแบบการให้บริการและพัฒนาสถานีอนามัย กับโรงพยาบาลชุมชน เรียกว่า “ โครงการวิจัยขุนหาญ ” ปี พ.ศ. 2530 - ปรับปรุงและพัฒนาด้านการแพทย์ ด้านการพยาบาล และให้บริการแก่ผู้มา รับบริการด้านรูปแบบการผสมผสานทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริม สุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ ปี พ.ศ. 2531 - นำผลการวิจัยในโครงการขุนหาญ มาใช้ในการพัฒนาระบบงานต่างๆ เช่น ระบบงานข้อมูลข่าวสาร ระบบงานส่งต่อผู้ป่วย ระบบการรักษาพยาบาลผู้ ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น ปี พ.ศ. 2532 - พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถสนับสนุนงานบริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ - พัฒนาลูกข่ายวิทยุสื่อสารสาธารณสุขและบริการรักษาพยาบาลทางวิทยุ - จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ปี พ.ศ. 2533 - พัฒนาโครงสร้างอาคารสถานที่ และสิ่งปลูกสร้างให้เป็นระเบียบและสวยงาม ปี พ.ศ. 2534 - ปรับปรุงและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลทั่วไป ปี พ.ศ. 2535 - ก่อสร้างโรงจอดรถและสถานที่จอดรถ ปี พ.ศ. 2537 - ได้รับจัดสรรงบประมาณสนับสนุน เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลยกระดับเป็น โรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง ปี พ.ศ. 2538 - เปิดให้บริการเป็นโรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง - พัฒนาระบบการให้บริการและจัดคลินิกเฉพาะโรค ปี พ.ศ. 2539 - จัดระบบการบริหารเวชภัณฑ์ โดยการก่อสร้างอาคารเวชภัณฑ์ ให้เป็น สต๊อก กลางในการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์แก่สถานีอนามัย - ได้รับงบประมาณสนับสนุนให้ดำเนินการก่อสร้างเตาเผาขยะ และพัฒนาระบบ การกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปี พ.ศ. 2540 - จัดหาทุนทรัพย์เพื่อดำเนินการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ - ก่อสร้างอาคารพัสดุและพัฒนาระบบงานบริการอาหาร ปี พ.ศ. 2541 - คณะสงฆ์อำเภอขุนหาญ ร่วมกับพ่อค้าประชาชนส่วนราชการต่าง ๆ และ โรงพยาบาลขุนหาญ ร่วมดำเนินการจัดหาทุนทรัพย์และก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ปี พ.ศ. 2542 - ได้งบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาล ขนาด 90 เตียง - ปรับปรุงอาคารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (เดิม) เป็นอาคารศูนย์การแพทย์ แผนไทย ปี พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน - ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล ขนาด 90 เตียง - ปรับปรุงตึกประชาสามัคคี เป็นศูนย์การประชุมและศูนย์ออกกำลังเพื่อสุขภาพ
***********************
|
ข้อมูลวันที่ 17 ต.ค. 2554 12:18 |